สวย

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับ Social Network

    



 ความหมายของ Social Network  


    
        Social Network  คือ  การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก  และเชื่อมโยงกันในทิศทางหนึ่ง  หากเป็นเว็บไซค์ที่เรียกว่าเว็บ 
Social Network  คือเว็บที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั้นเอง








         
    ความสำคัญ ของ Social Network


      ในปัจจุบันนี้ใคร ๆ ก็มีเครือข่ายออนไลน์กันทั้งนั้น… ไม่ว่าจะเป็นเฟชบุ๊ค (Facebook) , ทวิตเตอร์ (Twitter) หรืออื่น ๆ มากมาย จากความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสู่เพื่อนกลายเป็นความสัมพันธ์ของกลุ่มสังคม และเป็นความสัมพันธ์ที่กว้างไกลไปทั้งโลก… นี่คือความมหัศจรรย์ของเครือข่ายบนโลกออนไลน์
       เมื่อสิบปีที่แล้ว คงไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะกลายมามีอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์เราขนาดนี้…….. ในปี 2010 ที่ทั่วโลกเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจถดถอย แต่ในโลกของวงการอินเทอร์เน็ตกลับไม่ได้ถดถอยลงเลย สังเกตุได้จากในปีที่ผ่านมา Social Network เริ่มเข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Facebook , Twitter เราจะเริ่มเห็นการอ้างอิงแหล่งข้อมูลจะมาจากเว็บประเภท Social Network หรือ Blog Marketing กันมากขึ้น
       โลกได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างที่ไม่มีวันหวนกลับคืน คุณจะไม่มีวันหนีโลก “ออนไลน์” พ้น ในวันหนึ่งชีวิตของตัวคุณจะต้องถูก “ดิจิไทซ์” และกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลก “ออนไลน์” หลังจากนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจะถึงกาลอวสานของมัน มนุษย์ทุกคนจะมีเครื่องโน๊ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก หรืออะไรที่ใกล้เคียง เช่น โทรศัพท์มือถือ ที่สามารถพกพาติดตัวไปได้ตลอดเวลา และ “ออนไลน์” ได้ตลอดเวลา……… กระแสที่กำลังเกิดขึ้นในหลากหลายประเทศที่ว่า “การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง” จะกลายเป็นกระแสโลก และก่อนที่คุณจะรู้ตัว คุณก็จะพบว่ารอบตัวของคุณได้กลายเป็นสังคมเครือข่ายแบบ “ออนไลน์” กันไปหมดแล้ว








ความเป็นมาของ Social Network

        จุดเริ่มต้นของสังคมออนไลน์เกิดขึ้นจากเว็บไซต์ Classmates.com
เมื่อปี 1995 และเว็บไซต์SixDegrees.com ในปี 1997 ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่จำกัดการใช้งานเฉพาะนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนเดียวกัน เพื่อสร้างประวัติ ข้อมูลการสื่อสาร ส่งข้อความ และแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันระหว่างเพื่อนนักเรียนในลิสต์เท่านั้น ต่อมาในปี 1999 เว็บไซต์ epinions.com ที่พัฒนาโดย Jonathan Bishop ก็ได้มีการเพิ่มฟังก์ชั่นในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ ไม่เพียงแต่เพื่อนในรายชื่อเท่านั้น



        ประเภทของ Social Network     


       1 .Identity Network เผยแพร่ตัวตน เช่น Hi5, MySpace, Facebook เป็นต้น ใช้สำหรับนำเสนอตัวตน และเผยแพร่เรื่องราวของตนเองทางอินเตอร์เน็ทสามารถสร้างอัลบั้มรูปของตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อน และสร้างเครือข่ายขึ้นมาได้
        2. Creative Network เผยแพร่ผลงาน เช่น YouTube,Flickr, Multiply เป็นต้น สามารถนำเสนอผลงานของตัวเองได้ในรูปแบบของวีดีโอ ภาพ หรือเสียงเพลง
        3. Interested Network ความสนใจตรงกัน เช่น del.icio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
del.icio.us เป็น Online Bookmarking หรือ Social Bookmarking โดยเป็นการ Bookmark เว็บที่เราสนใจไว้บนอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งปันให้คนอื่นดูได้และยังสามารถบอกความนิยมของเว็บไซด์ต่างๆได้ โดยการดูจากจำนวนตัวเลขที่เว็บไซต์นั้นถูก Bookmark เอาไว้จากสมาชิกคนอื่นๆ
Digg นั้นคล้ายกับ del.icio.us แต่จะมีให้ลงคะแนนแต่ละเว็บไซด์ และมีการ Comment ในแต่ละเรื่อง
Zickr ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยคนไทย เป็นเว็บลักษณะเดียวกับ Digg แต่เป็นภาษาไทย
       4. Collaboration Network ร่วมกันทำงาน คือเป็นการร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์หรือส่วนต่างๆของซอฟต์แวร์ เช่น WikiPedia ,Google Maps เป็นต้น
WikiPedia เเป็นสารานุกรมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย
        ปัจจุบันเราสามารถใช้ Google Maps สร้างแผนที่ของตัวเอง หรือจะแบ่งปันแผนที่ให้คนอื่นได้ใช้ด้วย จึงทำให้มีสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ต่างๆ ถูกปักหมุดเอาไว้ พร้อมกับข้อมูลของสถานที่นั้นๆ ไว้แสดงผลจากการค้นหา
        5. Gaming/Virtual Reality โลกเสมือน เช่น SecondLife ,World WarCraft
ตัวอย่างของโลกเสมือนนี้ มันก็คือเกมส์ออนไลน์นั่นเองครับ SecondLife เป็นโลกเสมือนจริง สามารถสร้างตัวละครโดยสมมุติให้เป็นตัวเราเองขึ้นมาได้ ใช้ชีวิตอยู่ในเกมส์ อยู่ในชุมชนเสมือน (Virtual Community) สามารถซื้อขายที่ดิน และหารายได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ได้
        6. Peer to Peer (P2P) เช่น Skype, BitTorrent เป็นต้น
P2P เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง Client (เครื่องผู้ใช้, เครื่องลูกข่าย) กับ Client โดยตรง โปรแกรม Skype จึงได้นำหลักการนี้มาใช้เป็นโปรแกรมสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต และก็มี BitTorrent เกิดขึ้นมาเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว แต่ทว่ามันก็ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิ


     


           
ข้อดีของ Social Network




-  สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้
เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือ
-  ตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคำตอบได้ช่วยกันตอบ
-   ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว
-  เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น
-  ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสำหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า
- ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น


         
ข้อเสียของ Social Network     




-    เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service
-   เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กำหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้
-   เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service
-  เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น
***สรุป
        เรื่องของ Social Network นั้นไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ แต่เป็นเรื่องที่แทรกซึมเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราทีละน้อยแบบไม่รู้ตัวมานานแล้ว เว็บไซต์ที่เราเข้าไปใช้งานเกือบทุกเว็บได้ผันตัวเองจากผู้ให้บริการข้อมูล มาเป็นผู้ให้บริการระบบที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตข้อมูลด้วยตัวเอง จนกระทั่งเป็น Social Network Site หรือเว็บไซต์ชุมชุนออนไลน์ อย่างสมบูรณ์แบบในที่สุด
       Social Network Service นั้นเป็นการบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้คนหลากหลายเข้ามาใช้บริการร่วมกัน ให้กลุ่มคนเหล่านั้นสามารถทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือเชื่อมโยงข้อมูลกิจกรรมความสนใจในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยในบริการสังคมออนไลน์นั้นมักจะประกอบไปด้วย การส่งข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ เป็นต้น


     Social Network ยังเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตแบบใหม่ที่ลบขีดจำกัดทางด้านเวลา ระยะทาง และงบประมาณฯ จึงได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็ว ซึ่งในประโยชน์ที่มีมากมายนั้น ก็มีโทษอยู่มากมายเช่นกัน ดังนั้น ก่อนที่เราจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการใช้เว็บไซต์ Social Network ใดก็ตาม ก็ควรที่จะทำการศึกษาเรื่องของการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลความเป็นส่วนตัวของตนให้ดีซะก่อน มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาโจรกรรมหรืออาชญากรรมในภายหลังได้นะคะ


*หากต้องการรู้จักและเข้าใจเรื่องราวของ Social Network มากยิ่งขึ้นก็สามารถรับชมวิดีโอ
ด้านล่างนี้ได้








เรื่องของ    Social Network  ตอนที่  1

                            






เรื่องของ    Social Network  ตอนที่ 2




       




                                                                                                                  

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความรู้ เรื่องอินเตอร์เน็ต




ความหมาย
        อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล 



แผนผังการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต









ประวัติความเป็นมา


  ประวัติ อินเตอร์เน็ตต่างประเเทศ 
          นั้นได้ถือกำเนิดก่อตั้งมา  เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960 หรือ พ.ศ.2503นั้นเอง ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ทางการทหารในสมัยนั้น แต่ ARPAnet ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็น อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้ ในปัจจุบัน
      - ในปี ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPAnet ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) และก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่างขึ้นมา
ต่อมาในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ได้มีทดลองการเชื่อมต่อ Computerจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์  เข้าหากันเป็นครั้งแรก และการเชื่อมต่อ computer นี้ก็ประสบผลำเร็จ
       ค.ศ.1975(พ.ศ.2518) เครือข่ายทดลอง ได้ถูกนำมาเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริงๆจังๆ โดยมี หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) รับหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง  แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
    - ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) Protocal TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) ได้ถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet และปัจจุบันนี้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
    - การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน
    - DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation – NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน


เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย คือ


   1.  การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต  ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อ      สื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows7 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ      Macintosh ได้
     2.อินเตอร์เน็ต (Internet) ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึง กันได้
     3.  อินเตอร์เน็ต (Internet) ไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด      มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
ประวัติความเป็นมา ของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


         การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต (Internet)ของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า “แคมปัสเน็ตเวอร์ก” ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่” เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
  - กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
         เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเตอร์เน็ต (Internet) ผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ต (Internet)ที่ “บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา” ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า “ไทยสาร” ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ “ไทยสารอินเทอร์เน็ต” ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า “ไทยเน็ต” ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet) อีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้



มาตรฐานการสื่อสารบนนอินเตอร์เน็ต



         โปรโตคอล (Protocal)  
โปรโตคอล คือ ตัวกลางหรือภาษากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เปรียบเสมือนล่ามที่ใช้แปลภาษาของเครือข่ายต่างๆ ให้สื่อสารเข้าใจกัน เช่น TCP/IP  เป็นต้น

ไอพีแอดเดรส (IP Address)
       เมื่อเราต้องการสื่อสารกันเราจะต้องรู้จักชื่อ ที่อยู่ของผู้ที่จะติดต่อด้วยในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องเข้าด้วยกัน ฉะนั้นจึงจะต้องมีการกำหนดชื่อหรือเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกันกับเครื่องอื่นๆ ซึ่งรูปแบบการกำหนดเช่นนี้ เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP Address) โดยไอพีแอดเดส ในปัจจุบัน จะใช้อยู่ 2 มาตรฐาน คือ IPV4 และ IPV6 ยกตัวอย่าง เช่น ไอพีแอดเดรส มาตรฐาน IPV4 ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด คั่นด้วย (.) เช่น 61.35.42.11 แทน หมายเลขเครื่อง 1 เครื่องในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้ที่ควบคุมและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรสเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน เราเรียกองค์กรนั้นว่า อินเตอร์นิก (InterNIC)
        โดเมนเนม (Domain Name)

โดเมนเนม คือ ระบบที่นำอักษรมาใช้แทนไอพีแอดเดรสที่เป็นตัวเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ยากต่อการจดจำ โดยแต่ละโดเมนจะต้องไม่ซ้ำกันเช่นเดียวกับไอพีแอดเดรส การตั้งชื่อโดเมนนิยมตั้งชื่อให้สะดวกต่อการจดจำ เช่น google.co.th เป็นต้น

ความรู้เกี่ยวกับ Domain
โดเมนเนม ประกอบด้วย ชื่อองค์กร  .  ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร  .  ส่วนขยายบอกประเทศ  เช่น
        google.co.th  ประกอบด้วย  google แทน บริษัท Google   .   co  ย่อมาจาก  commercial (องค์กรเอกชน)   .  th  ย่อมาจาก  thailand  เป็นต้น
อื่นๆ   เช่น  sisaket.go.th  ประกอบด้วย  sisaket แทน จังหวัดศรีสะเกษ  .  go  แทน  Goverment (ราชการ) . th  ประเทศไทย


       ตัวอย่างส่วนขยายองค์กร  เช่น  ac , edu  แทน  สถาบันทางการศึกษา   net  แทน  องค์กรที่ให้บริการเครือข่ายทั่วไป
ตัวอย่างส่วนขยายประเทศ  เช่น  th : ไทย , uk : อังกฤษ , jp : ญี่ปุ่น, fr : ฝรั่งเศส , de : เยอรมันนี , ca : แคนาดา  เป็นต้น   



การใช้งาน  การเชื่อมต่อแบบต่างๆ

 บริการในระบบอินเทอร์เน็ต
            เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมด จนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่าง รวดเร็ว ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต มีดังนี้


          1 . ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mai l : E - mail ) เป็นการรับ – ส่งจดหมายถึงกัน    ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย แต่ระบบ  คอมพิวเตอร์ทำให้งานเองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคที่ใช้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีที่อยู่
          ( E - mail address ) เช่น    chaiya_3@yahoo . com
           2. การถ่ายโอนข้อมูล ( File Transfer Protocol : FTP)
เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร บทความ รวมถึงแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ในกรณีที่โอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียกว่า ดาวน์โหลด ( down load) ส่วนการนำแฟ้มข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเรียกว่าอัพโหลด ( up load)
      3 . การเรียกใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ( Telnet ) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายทำให้เรา สามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเช่นนักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง
     4. การสนทนา บนเครือข่าย ( chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือเพื่อโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดบนจอภาพ ต่อมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้ จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้   สนทนาด้วย MSN
   5. การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร ( search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมากฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ ( World Wide Web : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
ตัวอย่างเวิลด์ไวด์เว็บ ที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล
- http://www.google.co.th/
- http://www.yahoo.com/
- http://www.sanook.com/
- http://www.kapook.com/
          หรือเราสามารถใช้ตามวีดีโอนี้ 
                                                                                                                                                                  
                                   




 รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

          การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)
         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้












องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล
              1. โทรศัพท์
              2. เครื่องคอมพิวเตอร์
              3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
              4. โมเด็ม (Modem)
    2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)                                       การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต







การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
         1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
         2. การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)
            2. 1 WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
            2.2 GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
            2. 3 โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
            2. 4 เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี


        3. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm)
             ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น



ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต


           ปัจจุบันได้มีการนำเอาอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเอามาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจ เนื่องจากอินเตอร์เน็ตถือเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญเพื่อประโยชน์ในการสื่อสารทางการตลาดให้กับธุรกิจ นอกเหนือจากเครื่องมือสื่อสารอื่นๆทางการตลาด ในการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ เช่นการนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยประชาสัมพันธ์ได้อย่างหลากหลาย ช่วยเรื่องการติดต่อทางธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์การสนทนาผ่านโปรแกรม chat หรือ VDO Conference การชำระเงินค่าสินค้าบริการผ่านอินเตอร์เน็ต ช่วยค้นหาข้อมูลทางธุรกิจ เป็นต้น อินเตอร์เน็ตช่วยสร้างโอกาศทางธุรกิจในหลายๆด้านได้แก่


        1. อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนสำนักงานออนไลน์ ที่สามารถเปิดขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
       2. อินเตอร์เน็ตช่วยให้เรานำสินค้าเปิดสู่ตลาดโลกได้โดยง่าย
       3. อินเตอร์เน็ตช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
       4.อินเตอร์เน็ตช่วยให้สามารถสร้างเครือข่ายธุรกิจ นอกจากการเปิดเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าของตนเองแล้ว อินเตอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือทางด้านการค้าได้จากการฝากขายสินค้าของตนผ่านเว็บไซต์อื่น
      5. อินเตอร์เน็ตช่วยให้เราสามารถแบ่งแยกหมวดหมู่ได้ตรงเป้าหมาย
      6. อินเตอร์เน็ตช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


ภัยจากอินเตอร์เน็ต



          ภัยจากอินเตอร์เน็ต แอบแฝงมากับคุณอันมหันต์ของโลกออนไลน์ โลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลอันมหาศาล โลกที่ถูกย่อด้วยการสื่อสารไร้พรมแดน หรือจะเป็นแหล่งขุมทรัพย์..
     
        คงจะเคยฟังหรืออ่านข่าว ภัยจากอินเตอร์เน็ต กันอยู่บ้าง อินเตอร์เน็ตในโลกยุกต์ปัจจุบันคือแหล่งของจ้อมูลอันมหาศาล แหล่งที่หลายๆ คนเข้ามาใช้สรรหาผลประโยชน์ แหล่งที่ นักเรียน นักศึกษา ใช้ค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการเรียน แต่ก็เป็นแหล่งที่เหล่ามิจฉาชีพแฝงตัวมาหาผลประโยชน์เช่นกัน จนบางครั้งก็รู้สึกหวั่นกับ ภัยจากอินเตอร์เน็ต อยู่เหมือนกัน

        หลังจากคลุกคลีอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ต จนแทบจะได้ว่าลืมโลกแห่งความเป็นจริงไปแล้ว จนวันนี้ไม่รู้เป็นไงมีความรู้สึกอยากจะเขียนบันทึกเรื่อง ภัยจากอินเตอร์เน็ต ไว้ในเว็บดูบ้าง ดูเป็นสีสันของเว็บ เอาเป็นเรื่องชนิดผ่านหูผ่านตา เรื่องประสบการณ์ที่เจอมามันดูจะคุยกันได้เป็นธรรมชาติมากกว่าจะพูดเรื่อง ทฤษฎี

ฟิชชิง (Phishing)
         เจ้า ฟิชชิง (Phishing) จัดว่ามันเป็น ภัยจากอินเตอร์เน็ต ที่ค่อนข้างน่ากลัวทีเดียว วิธีการก็คือมิจฉาชีพอาจจะสร้าง E-Mail หลอกๆ เช่นอาจจะเป็น E-Mail จากธนาคารให้เราคลิกลิงค์เพื่อเข้าไปที่หน้าเว็บที่ทำขึ้นมาหลอกๆ แต่เหมือนเว็บจริงมากๆๆ จุดประสงค์ห็เพื่อให้เรากรอกเข้อมูลอธิเช่น หมายเลขบัตรเครดิต รหัสผ่าน ชื่อผู้ใช้ คงไม่ต้องเอ่ยถึงว่ามิจฉาชีพจะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปทำอะไร แต่ก็ใจชื้นขึ้นมาเยอะเมื่อทุกๆ ธนาคารในเมืองไทยนำระบบแจ้งหมายเลข OTP เพื่อคุ้มครองเจ้าของบัญชี อันนี้คงจะพูดได้ว่า โลกออนไลน์ให้ความสะดวกแต่ก็ต้องระวัง ภัยจากอินเตอร์เน็ต เช่นกัน




เด็กใช้อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งเรียนรู้


 ม้าโทรจัน 
          ม้าโทรจัน  คือ โปรแกรมที่ซ่อนตัวอยู่ในฮาร์ดดิสก์ด้วยฝีมือของแฮคเกอร์ ที่อาจส่งโค้ดแฝงมากับไฟล์แนบท้ายอีเมล การทำงานของโทรจันก็เหมือนกับเรื่องเล่าของกรีก ที่ว่าด้วยกลอุบายซ่อนทหารไว้ในม้าไม้ขนาดใหญ่ และนำไปมอบให้กับชาวเมืองทรอย (Trojans) พอตกกลางคืน ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ก็ลอบออกมาเปิดประตูเมืองให้พวกของตนบุกเข้าตีเมืองทรอยได้อย่างง่ายดาย เปรียบได้กับแฮคเกอร์ที่ส่งโปรแกรมลึกลับ (ม้าโทรจัน) มาคอยดักเก็บข้อมูลในพีซีของคุณ แล้วส่งออกไปโดยที่คุณไม่รู้ตัวนั่นเอง
           Trojan Horse เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้น และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้





                                      






แหล่งข้อมูลอ้างอิงเรื่อง ที่มาอินเตอร์เน็ต (Internet)
http://www.krujongrak.com/internet/internet.html
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/poonsak/i
http://school.obec.go.th/phusing/html/chapter1.htm
http://business-online.tht.in/benefits.html
http://www.babyhunsa.com/
http://www.youtube.com/watch?v=iQRR1gc-g6k